พระยาศรีสุนทรโวหาร นามเดิมของท่านคือ น้อย
อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365
เป็นชาวฉะเชิงเทราโดยกำเนิด
ท่านมีผลงานที่เด่นมากในวงการศึกษา ท่านเป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย
ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
(โรงเรียนหลวงแห่งแรก) และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง
คือ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กลองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง
"รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี
และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง ท่านถึงแก่อสัญญกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม
พ.ศ.2434 อ่านต่อ
วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การวิจักษ์ละวิจารณ์วรรณคดี
คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ
ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด
มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร
มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น
ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน
อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี อ่านต่อ
อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์
ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง
และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์
เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน
คือกุเรปัน และ ดาหา อ่านต่อ
นิทานเวตาลเรื่องที่10
ทานเวตาล (สันสกฤต: वेतालपञ्चविंशति เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล 25 เรื่อง) เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว โครงเรื่องหลักของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี อ่านต่อ
นิราศนรินทร์คำโคลง
ผู้แต่งนิราศนรินทร์ คือนายนรินทรธิเบศร์ (มิใช่ชื่อตัว แต่เป็นบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ) มีนามเดิมว่า อิน ในตำรารุ่นเก่า มักเขียนเป็น นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม อ่านต่อ
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ อ่านต่อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)